สรุปราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกรกฎาคม 2564

สรุปราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกรกฎาคม 2564

ราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกรกฎาคม 2564 เท่ากับ 112.9 เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2563 สูงขึ้นร้อยละ 7.8 (YoY) ซึ่งยังคงสูงขึ้นจากสินค้าหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กเป็นสำคัญ โดยสูงขึ้นร้อยละ 34.6 เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่ก็เริ่มมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากการผลิตที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศหลังจากเศรษฐกิจเริ่มมีการฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลายมากขึ้น ขณะที่หมวดอื่น ๆ
สำหรับการออกมาตรการปิดแคมป์คนงานก่อสร้างเป็นระยะเวลา 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน – 27 กรกฎาคม นั้น ได้ส่งผลกระทบต่อภาคการก่อสร้างในระยะสั้น ประกอบกับอยู่ในช่วงฤดูฝน ซึ่งจะเป็นช่วงที่อุตสาหกรรมการก่อสร้างมีการชะลอตัว ดังนั้นมาตรการดังกล่าวจึงไม่ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้ามากนัก

เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2563 (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 7.8 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าวัสดุก่อสร้าง ดังนี้ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 2.0 จากการสูงขึ้นของไม้แบบ ไม้โครงคร่าว บานประตู-หน้าต่าง ไม้คาน วงกบประตู-หน้าต่าง จากการปรับราคาเมื่อตอนต้นปี เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 2.7 โดยสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ชีทไพล์คอนกรีต ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ถังซีเมนต์สำเร็จรูป และพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรง เนื่องจากราคาต้นทุนสูงขึ้นจากวัตถุดิบ คือ เหล็ก เป็นสำคัญ ประกอบกับฐานต่ำในปีที่ผ่านมา

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สูงขึ้นร้อยละ 34.6 ซึ่งยังคงสูงขึ้นเนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปีที่ผ่านมา จากการลดกำลังการผลิตในประเทศจีน ประกอบกับความต้องการการบริโภคที่สูงขึ้น หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากการสูงขึ้นของกระเบื้องยาง PVC ปูพื้น ซึ่งปรับราคาตามต้นทุนที่สูงขึ้น หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 4.1 สินค้าสำคัญที่สูงขึ้น ได้แก่ สายเคเบิล THW ท่อร้อยสายไฟและสายโทรศัพท์ PVC สายไฟฟ้า VCT ท่อ PVC ก๊อกน้ำ และประตูน้ำ เนื่องจากราคาต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น จากการปรับราคาสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มโลหะ ได้แก่ เหล็กและทองแดง และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 1.3 จากการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่ม หิน ดิน ทราย อลูมิเนียม และยางมะตอย

เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ในขณะที่หมวดสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงลดลง ได้แก่ หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 2.7 จากการลดลงของปูนซีเมนต์ผสม และปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เนื่องจากมีการแข่งขันสูงจากโครงการก่อสร้างภาครัฐ ในขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนยังคงซบเซาต่อเนื่อง จากผลกระทบการระบาดของโควิด-19 และหมวดวัสดุฉาบผิว ลดลงร้อยละ 0.1 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา จากการลดลงของซิลิโคน ส่วนสินค้าที่ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ หมวดสุขภัณฑ์

ข้อมูลจาก www.ryt9.com