เบอร์ซิน เบเซริค-เกอร์เบอร์ ทีมงานจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ University of Southern California บอกว่า นอกจากอาคารจะรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นภายในอาคารแล้ว ยังสามารถระบุเหตุผลของสิ่งที่เกิดขึ้นได้เบื้องต้นด้วย การรับรู้นั้น ได้มาจากการที่ทีมวิจัยติดเซนเซอร์ภายในอาคาร เพื่อเก็บข้อมูลของผู้ที่อยู่ภายใน ทั้งระดับความสะดวกสบายและประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งเซนเซอร์นี้จะวัดค่าจากรูม่านตาที่เป็นประตูสู่หัวใจ เหมือนกับในภาพยนตร์ไซไฟทีเดียวแมทธิว โค้ทซิน ทีมวิจัยอีกคน อธิบายว่า การใช้รูม่านตาเป็นตัวชี้วัดนั้น จะเกิดขึ้นเวลาพนักงานเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน จากหน้าคอมพิวเตอร์ เป็นหน้ากระดาษเอกสาร

ซึ่งต้องใช้แสงที่มากขึ้น รูม่านตาของพนักงานจะปรับแสงให้กับเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป และด้วยระบบ machine learning จะช่วยตอบสนองผ่านดารปรับแสงไฟให้เข้ากับความต้องการได้ทันใจ เซนเซอร์อีกตัวในอาคารนี้ก็คือ เซนเซอร์ตรวจจับความชื้นบนผิวหนัง อุณหภูมิ และอัตราการเต้นของหัวใจ เรียกรวมๆว่า thermal sensation และข้อมูลเหล่านี้จะนำไปประมวลผ่านระบบปัญญาประดิษฐ์ ที่ช่วยบอกได้ว่าพนักงานรู้สึกอย่างไรในตอนนั้นได้อย่างเรียลไทม์ จุนโฮ ชเว หนึ่งในทีมงานอีกคน บอกด้วยว่า เมื่อเราทราบถึงระดับ thermal sensation ของพนักงานแต่ละคน ก็จะช่วยปรับระดับอุณหภูมิในห้องทำงานว่าต้องเพิ่มแอร์หรือเพิ่มฮีทเตอร์ให้รองรับความต้องการของแต่ละคนได้พอดี