ประเทศไทยเรา เป็นประเทศที่มีการสร้างขยะเฉลี่ยอยู่ที่อันดับ 70-80 ของโลก โดยประชากรหนึ่งคน จะผลิตขยะเฉลี่ย 1.1-1.5 กิโลกรัม ต่อวัน
เมื่อเราทิ้งขยะลงไปในถังโดยที่ไม่มีการแยกขยะนั้นจะทำให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง เรื่องของระบบนิเวศ ที่เราอาจจะไม่ได้สังเกต ซึ่งการไม่แยกขยะนั้นจะทำให้การทำลายขยะนั้นเป็นไปได้ยากขึ้น เพราะเนื่องด้วยถ้าเราทิ้งขยะทั้งหมดรวมกันในถังเดียวนั้น จะทำให้ขยะบางชนิดมีการปนเปื้อนกับขยะในถังซึ่งอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ ตัวอย่างเช่นเรานำ ขยะที่เป็นสารมี ไปในถังเดียวกับขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้หรือเศษอาหารที่นำไปทำเป็นปุ๋ยได้ก็จะปนสารเคมีนั้นไปทำให้นำมารีไซเคิลไม่ได้นั้นเอง
จากข้อมูลปี 59 พบว่าขยะตกค้างในไทย หากนำมากองรวมกัน จะมีขนาดเท่ากับตึกใบหยก 147 ตึกเลยทีเดียว! โดยขยะส่วนมาก 64% เป็นขยะอินทรีย์ เช่น กิ่งไม้ เศษอาหาร อีก 30% เป็นขยะรีไซเคิล 3% เป็นขยะทั่วไป และ 3% เป็นขยะของเสียอันตราย
ขยะแบ่งเป็น 4 ประเภทหลักๆ ดังนี้
ขยะทั่วไป
มีลักษณะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มสำหรับการนำมากลับมาใช้ เช่น ห่อพลาสติกใส่ขนม ถุงพลาสติกบรรจุผงซักฟอก พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถุงพลาสติกเปื้อนเศษอาหาร
ขยะเปียก
ขยะเน่าเสียที่ย่อยสลายได้เร็ว เช่น เศษอาหารผักผลไม้ และใบไม้ ที่สามารถนำมาหมักเป็นปุ๋ยได้ ซึ่งขยะประเภทนี้ หากหมักหมมไว้นานโดยไม่ได้จัดการอย่างถูกวิธี นอกจากจะเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็นไม่พึงประสงค์ และเป็นแหล่งเชื้อโรคแล้ว ยังทำให้ขยะชนิดอื่น ๆ

ขยะรีไซเคิล
บรรจุภัณฑ์หรือเศษวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น ไม้กระป๋องเหล็กยางเศษโลหะอะลูมิเนียม ขวดน้ำ กระดาษและแก้ว
ขยะอันตราย
ขยะที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เป็นขยะหรือของเหลือใช้ที่มีส่วนผสมของวัตถุอันตราย อย่างวัตถุไวไฟ วัตถุระเบิดได้ วัตถุที่มีสารพิษ มีสารปรอท ตะกั่วและสารเคมีอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อคน เช่น ถ่านไฟฉายแบตเตอรี่กระป๋องสเปรย์กระป๋องยาฆ่าแมลงกระป๋องสีหลอดไฟ และโทรศัพท์เคลื่อนที่