รู้หรือไม่!! บ่อเกรอะ–บ่อซึม แตกต่างกันอย่างไร
หลายๆคนนั้นอาจจะมีคำถามหรือข้อสงสัยสำหรับบ่อเกรอะ–บ่อซึมว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร รวมไปถึงการใช้งาน การติดตั้ง หรือแม้แต่ข้อดีข้อเสีย เพื่อเป็นการประกอบการตัดสินใจว่าจะใช้งานในลักษณะไหนวันนี้เราจะมาคลายความสงสัยกัน
1. น้ำโสโครก (Soil Water)
คือ น้ำเสียรวมไปถึงสิงปฏิกูลจากสุขภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น โถส้วม โถปัสสาวะ ส่วนมากท่อจะแยกออกจากน้ำทิ้ง เพื่อลดปัญหาเรื่องกลิ่น โดยน้ำโสโครก จะต้องมีการบำบัดก่อนระบายสู่สาธารณะ ตามมาตรฐาน หรือกฏกระทรวงฉบับที่ 44 (พ.ศ.2538)
ถังบำบัดน้ำเสีย (Waste water Tank) มีหน้าที่หลักคือ บำบัดน้ำเสียโดยระบบที่นิยมใช้คือ Activated Sludge เป็นการใช้จุลชีพทำหน้าที่ ย่อยสลายของเสียในน้ำ โดยน้ำเสียที่บำบัด เรียบร้อยแล้วนั้น จะสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก เช่น การรดน้ำต้นไม้ เป็นต้น
ในปัจจุบันนี้ระบบบำบัดน้ำเสียภายในครัวเรือนสามารถทำได้สองทาง ทางแรกก็คือการทำ บ่อเกรอะ-บ่อซึม ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไปและมีมานานแล้ว มีรายละเอียดวิธีการก่อสร้างและวิธีบำบัดน้ำ
2. น้ำทิ้ง (Waste Water)
คือ น้ำเสียจากการชำระล้างอาบน้ำ โดยจะระบายสู่สาธารณะโดยแรงโน้มถ่วง โดยท่อควรมีความลาดเอียงอย่างน้อย 1:100 รวมทั้ง ต้องมีท่ออากาศ เพื่อให้อากาศในท่อ มีทางระบาย เพื่อการไหลที่ดี และมีจุดเปิด (Clean Out) เพื่อทำความสะอาดในกรณี เกิดการ อุดตัน บริเวณจุดหักจุดเลี้ยวของท่อส่วนน้ำทิ้ง จากครัวนั้น ควรมีบ่อดักขยะ และไขมัน (Grease Trap) ก่อนระบายสู่ทางสาธารณะ เพื่อป้องกันการอุดตัน
ข้อเสียของการใช้บ่อเกรอะบ่อซึม คือ จะต้องตั้งอยู่ห่างจาก แหล่งน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคทั่วไป เพราะความสกปรก จะกระจายมาตามดินได้ และในกรณีที่มีน้ำใต้ดินสูง ก็ไม่อาจใช้บ่อเกรอะและบ่อซึม ได้เพราะน้ำในบ่อซึม จะไม่สามารถซึมออกไปในดินได้ และเมื่อถึงเวลาเต็ม จะต้องมีการดูดสิ่งปฏิกูลจากบ่อเกรอะออกไปทิ้งด้วยมิฉะนั้นจะใช้งานไม่ได้
ข้อมุลจาก doslifebrand
เลือกซื้อสินค้าวัสดุก่อสร้างกับเรา Beelieve Sourcing มาร์เก็ตเพลสวัสดุก่อสร้างรายแรกของไทย เรามีทั้งสินค้าวัสดุก่อสร้าง และ บริการต่างๆ รวมถึงรถขนส่ง หรือ ช่างผู้รับเหมา ทั่วประเทศไทย facebook: beelievesourcing line: @beelievesourcing youtube: beelieveus beelievesourcing เราสร้างตลาดสินค้าออนไลน์และ บริการครบจบในที่เดียว